ตัววิ่ง

★★★ ยินดีเข้าสู่บล็อกของนางสาวกิรวรรณ ได้เลยค่ะ ★★★

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สหกรณ์คือ...



สหกรณ์” (Cooperatives)

สหกรณ์ คือ องค์การของบรรดาบุคคล ซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ ( อันจำเป็น ) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

สหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542

ดังนั้น สหกรณ์จึงตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการทำมาหากินที่เหมือน หรือคล้ายๆ กัน หรือความต้องการบริการที่เหมือนกันและเป็นปัญหาที่สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถแก้เองได้ตามลำพัง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการ ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตนมากกว่าที่แต่ละคนเคยได้จากการดำเนินกิจการเองตามลำพัง

สถานภาพสหกรณ์

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif สหกรณ์เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif เมื่อจดทะเบียนแล้ว สหกรณ์มีสถานภาพเป็น นิติบุคคล

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif สหกรณ์เป็นนิติบุคคลในภาคเอกชน ไม่สังกัดส่วนราชการใดๆ

ทำไมต้องมีการจัดตั้งสหกรณ์

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif สหกรณ์เป็นที่รวมของผู้มีปัญหาคล้ายๆ กัน คนที่รู้ปัญหาดี คือ ตัวผู้มีปัญหานั่นเอง ฉะนั้น การแก้ปัญหาได้ดีที่สุดก็คือการรวมคนที่มีปัญหานั้นมาช่วยกันแก้ไข

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif สหกรณ์เป็นองค์การที่มีกฎหมายรองรับ เป็นนิติบุคคลที่ถาวร เป็นอิสระ มีส่วนราชการเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนตามความจำเป็น

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif สหกรณ์มีวิธีการแบ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยธรรม เป็นแบบของสหกรณ์โดยเฉพาะ มีลักษณะที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และผู้ใช้บริการในขณะเดียวกัน

ประโยชน์ที่จะได้รับจากสหกรณ์ มีดังต่อไปนี้

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif การรวมกันเป็นสหกรณ์ ทำให้มีผลในการต่อรองทั้งในด้านการซื้อและการขายสินค้า ที่สมาชิกผลิตได้  และฝึกคนให้รู้จักการพึ่งตนเอง

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif ทำให้ชุมชนมีความสามัคคี ปรองดอง อันจะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ สหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ การสหกรณ์เป็นวิธีการที่อุ้มชูผู้ที่ยากจนให้มีฐานะดีขึ้น โดยมิได้ทำลายคนมั่งมี จึงมีลักษณะเป็นสันตินิยมหรือส่งเสริมสันติภาพ

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif สหกรณ์เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพหลัก

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif สหกรณ์ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านการประกอบอาชีพแก่สมาชิก เช่น แนะนำให้สมาชิกรู้จักพัฒนาการผลิตด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ จำหน่ายผลผลิตให้ได้ในราคาสูงขึ้น เป็นต้น

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif ส่งเสริมความเสมอภาคกันและเป็นประชาธิปไตย โดยให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการออก เสียงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์

http://webhost.cpd.go.th/rlo/images/group/AbstractShapes.gif สหกรณ์ฝึกคนให้มีความรู้ ประสบการณ์ รู้จักการประหยัดทรัพย์และสนับสนุนด้านเงิน ทุน การผลิต ควบคุมการใช้เงินทุนให้เป็นไปตามแผน รวมกันซื้อปัจจัยการผลิตและรวมกันขายผลิตผล ทำให้คนในชุมชนนั้นๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ประวัติพระพุทธเจ้า

                พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท ๗ ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"

ภาพ:ประสูติ.jpg
 
 
อ่านต่อ คลิก

ประวัติวิสาหกิจชุมชนบ้านดอนไก่ดี จ. สมุทรสาคร


 
จากคำบอกเล่าของสมาชิกกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ หมู่ที่ 1 ตำบลดอนไก่ดี ที่ส่วนใหญ่ เคยทำงานเป็นลูกจ้างใน โรงงานเสถียรภาพซึ่งเป็นโรงงานผลิตถ้วยชามเซรามิค (ถ้วยชามตราไก่) ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ตั้งอยู่ที่ตำบล อ้อมน้อย (เทศบาลเมืองอ้อมน้อย) อำเภอกระทุ่มแบน มีหลายคนเป็นสุภาพสตรีที่ทำงานอยู่แผนกเขียนลายครามและลายเบญจรงค์ และเป็นสมาชิกของกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ในปัจจุบัน เช่น คุณอุไร แตงเอี่ยม, คุณผุดผ่อง ภู่มาลี, คุณรัชนี ทองเพ็ญคุณประภาศรี พงษ์เมธา, คุณมะลิ จันทบดี ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ ได้รับการถ่ายทอดเอาความรู้และภูมิปัญญาจากวิทยากรทั้งคนไทยและคนจีนโบราณที่ทางโรงงานเสถียรภาพเชิญมาสอนและแนะนำ การเขียนลวดลายต่างๆ ลงบนถ้วยชาม ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2532 โรงงานเสถียรภาพประสบปัญหาภาวะขาดทุน มีการปลดคนงานออก และได้ปิดกิจการลงในเวลาต่อมา ทำให้ลูกจ้างคนงานหลายคนตกงาน หลังจากนั้นได้มีลูกจ้างคนงานของดอนไก่ดีได้รวมกันปรึกษาหารือ เพื่อนำเอาความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาที่ได้รับมาลงทุนทำผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนในหมู่บ้านและได้มีการประยุกต์คิดค้นแบบลวดลาย รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยและความต้องการของตลาดทำให้เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
            
ในปี พ.ศ. 2536 สำนักงานการพัฒนาชุมชนอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ได้มีการรณรงค์ จัดตั้งกลุ่มอาชีพสตรีในระดับตำบลหมู่บ้าน และสนับสนุน จัดส่งหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดีเข้าประกวด หัตถกรรมดีเด่น ของมูลนิธิหม่อมงามจิตติ์บุรฉัตร ประจำปี 2544 และหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดีได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ทำให้เครื่องเบญจรงค์มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมยอมรับมากขึ้น สมาชิกในกลุ่มหมู่บ้านจึงได้รวมกลุ่มกันเป็นระบบและเข้มแข็งขึ้น ภายใต้ชื่อ กลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี
            
ในราวปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้แก่ชุมชน โดยจัดให้มีการรณรงค์โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (One Tambon One Product) ขึ้นทั่วประเทศ และได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน ได้มีการจัดประกวดคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นในแต่งละแห่ง และผลิตภัณฑ์ เบญจรงค์ของกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี ได้รับการคัดสรรเป็นสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (product champion) ระดับ 5 ดาว จึงเป็นที่รู้จักยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ มีลูกค้ามากมายหลากหลาย ในขณะที่ผลิตเบญจรงค์ก็มีการพัฒนาคิดค้น ดัดแปลง สร้างความ เข้มแข็งทางด้านภูมิปัญญาชุมชนและช่วยเหลือ สร้างอาชีพรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น  มีการพัฒนาตัวเองขยายผลการดำเนินงานออกไป อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการออกแบบและ   การเขียนลายเบญจรงค์ได้มีผู้ชำนาญการและมีความสามารถพิเศษเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตเบญจรงค์อย่างกว้างขวางมากขึ้น และกลุ่มชุมชนดอนไก่ดี ได้มีการบริการจัดการโดยสมาชิกและคณะกรรมการการบริหารกลุ่มฯ โดยมี  นางอุไร  แตงเอี่ยม เป็นประธานฯ ปัจจุบันเป็นสมาชิกเครือข่าย OTOP อำเภอกระทุ่มแบนและเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ความสัมพันธ์ ในระหว่างกลุ่มเน้นการพูดคุย หรือการปรึกษาหารือ ในเรื่องต่างๆ เช่น การแจ้งข้อมูลข่าวสารการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในงานมหกรรมและเทศกาลตามที่ทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เพื่อเตรียมผลิตภัณฑ์ไปร่วม การผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย การจัดซื้อวัตถุดิบเป็นการร่วมจัดซื้อก็จะได้ราคาถูกลงเป็นการลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ส่วนการร่วมรับผลประโยชน์สมาชิกแต่ละรายจะมีการผลิตสินค้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ก็มีการผลิตสินค้าร่วมกันหากมีการสั่งทำเป็นปริมาณมาก หรือถ้ามีกลุ่มทัศนะศึกษาจำนวนมาก ก็จะมีการบรรยายถึงภาพรวม ประวัติความเป็นมา ขั้นตอนการผลิต ณ ศูนย์ OTOP หลังจากนั้นก็จะมีการแบ่งกลุ่มผู้มาเยี่ยมชมออกเป็นกลุ่มย่อย นำชมการผลิตเบญจรงค์ของสมาชิกแต่ละบ้าน เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสจำหน่ายสินค้าได้ทัดเทียมกัน การเอื้อเฟื้อต่อชุมชน สมาชิกกลุ่มฯ ยินดีสนับสนุนส่วนราชการ ทั้งการมอบผลิตภัณฑ์ให้เป็นของฝากของที่ระลึกทุกครั้งที่มีผู้มาตรวจเยี่ยม ทั้งการร่วมต้อนรับแขกผู้มีเกียรติระดับประเทศหลายๆครั้ง โดยให้การต้อนรับที่อบอุ่นและเป็นมิตร ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ของชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศไทยนอกจากนี้กลุ่มฯ ยังให้บริการที่พักค้างแรม (HOME STAY) มีการจัดสรรผู้มารับบริการไปยังสมาชิกอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งให้บริการสอนการเรียนลายเบญจรงค์ ชมการสาธิตทำเบญจรงค์ และสวนกล้วยไม้นานาพันธ์ ฯลฯ